เมนู

2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 จูฬันตรทุกาทิวิสัชนา


[567] โพชฌงค์ 7 เป็นสัปปัจจยะ โพชฌงค์ 7 เป็นสังขตะ
โพชฌงค์ 7 เป็นอนิทัสสนะ โพชฌงค์ 7 เป็นอัปปฏิฆะ โพชฌงค์ 7 เป็น
อรูป, โพชฌงค์ 7 เป็นโลกุตตระ โพชฌงค์ 7 เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็น
เกนจินวิญเญยยะ. โพชฌงค์ 7 เป็นโนอาสวะ โพชฌงค์ 7 เป็นอนาสวะ,
โพชฌงค์ 7 เป็นอาสววิปปยุต โพชฌงค์ 7 กล่าวไม่ได้ว่า เป็นทั้งอาสว-
สาสวะ เป็นทั้งสาสวโนอาสวะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นทั้งอาสวอาสวสัมปยุต เป็น
ทั้งอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ โพชฌงค์ 7 เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ โพชฌงค์
7 เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ โพชฌงค์ 7 เป็นโนคันถะ ฯลฯ โพชฌงค์ 7
เป็นโนโอฆะ ฯลฯ โพชฌงค์ 7 เป็นโนโยคะ ฯลฯ โพชฌงค์ 7 เป็น
โนนีวรณะ ฯลฯ โพชฌงค์ 7 เป็นโนปรามาสะ ฯลฯ โพชฌงค์ 7 เป็น
สารัมมณะ โพชฌงค์ 7 เป็นโนจิตตะ โพชฌงค์ โพชฌงค์ 7 เป็นเจตสิกะ
โพชฌงค์ 7 เป็นจิตตสัมปยุต. โพชฌงค์ 7 เป็นจิตตสังสัฏฐะ โพชฌงค์ 7
เป็นจิตตสมุฏฐานะ โพชฌงค์ 7 เป็นจิตตสหภู, โพชฌงค์ 7 เป็นจิตตานุ-
ปริวัตติ โพชฌงค์ 7 เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ โพชฌงค์ 7 เป็นจิตต-
สังสัฏฐสมุฏฐานสหภู โพชฌงค์ 7 เป็นจิตตสังสัฏฐานานุปริวัตติ โพชฌงค์
7 เป็นพาหิระ โพชฌงค์ 7 เป็นอนุปาทา โพชฌงค์ 7 เป็นอนุปาทินนะ
โพชฌงค์ 7 เป็นนอุปาทานะ ฯลฯ โพชฌงค์ 7 เป็นโนกิเลสะ ฯลฯ

13. ปิฏฐิทุกวิสัชนา


[568] โพชฌงค์ 7 เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ, โพชฌงค์ 7 เป็น
นภาวนายปหาตัพพะ. โพชฌงค์7 เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ โพชฌงค์ 7
เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ โพชฌงค์ 7 เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี

โพชฌงค์ 7 เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี. ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นอัปปีติกะ,
โพชฌงค์ 6 เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี. ปีติสัมโพชฌงค์ เป็น
นปีติสหคตะ. โพชฌงค์ 6 เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี. ปีติสัม-
โพชฌงค์ เป็นสุขสหคตะ. โพชฌงค์ 6 เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะ
ก็มี. ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นนอุเปกขาสหคตะ. โพชฌงค์ 6 เป็นอุเปกขาสหคตะ
ก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี. โพชฌงค์ 7 เป็นนกามาวจร โพชฌงค์ 7
เป็นนรูปาวจร โพชฌงค์ 7 เป็นนอรูปาวจร. โพชฌงค์ 7 เป็นอปริยาปันนะ
โพชฌงค์ 7 เป็นนิยยานิกะก็มี อนิยยานิกะก็มี. โพชฌงค์ 7 เป็นนิยตะก็มี
เป็นอนิยตะก็มี. โพชฌงค์ 7 เป็นอนุตตระ. โพชฌงค์ 7 เป็นอรณะ ฉะนี้
แล.
ปัญหาปุจฉกะ จบ
โพชฌังควิภังค์ จบบริบูรณ์

อรรถกถาโพชฌังควิภังค์


วรรณนาสุตตันตภาชนีย์


โพชฌงค์ 7 นัยที่หนึ่ง


บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัย ในโพชฌังควิภังค์ อันเป็นลำดับต่อจาก
อิทธิบาทวิภังค์นั้น ต่อไป.
คำว่า 7 เป็นคำกำหนดจำนวน.
คำว่า โพชฺฌงฺคา มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะ
อรรถว่า เป็นองค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ หรือเป็นองค์แห่งพระ-
สาวกผู้ตรัสรู้.
ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า ธรรมสามัคคีนี้ใด พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า โพธิ เพราะทำคำอธิบายว่า พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรม-
สามัคคี กล่าวคือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา อัน
เกิดขึ้นในขณะแห่งโลกุตตรมรรคอันใด อันเป็นปฏิปักษ์ต่ออุปัททวะ (อันตราย)
มิใช่น้อย มีการหดหู่ ความฟุ้งซ่าน การตั้งอยู่ (แห่งทุกข์) การพอกพูน
(หรือการประมวลมาซึ่งทุกข์) อันมีการยึดมั่นในกามสุข อัตตกิลมถานุโยค
อุจเฉททิฏฐิ สัสสตทิฏฐิ เป็นต้น.
คำว่า ย่อมตรัสรู้ คือ ธรรมสามัคคีนั้น ย่อมตั้งขึ้นเพื่อทำลายความ
สืบต่อแห่งกิเลส. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ย่อมตรัสรู้ ได้แก่ ย่อมแทงตลอด
สัจจะทั้ง 4.
อีกอย่างหนึ่ง....ได้แก่ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน